การจัดการควบคุมจราจรทางอากาศ

การเดินทางทางอากาศหัวใจสำคัญของการเดินทางคือการไปถึงจุดหมายด้วยความปลอดภัยและรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญยิ่งประการหนึ่งซึ่งนอกเหนือไปจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีของยานพาหนะชนิดต่างๆ ตลอดจนการเพิ่มเส้นทางหรือห้วงอากาศสำหรับสัญจรก็คือ การจัดการหรือควบคุมจราจรนั่นเอง

การบัญญัติกฎหมาย กำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติการจำแนกอำนาจหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจราจรหรือแม้กระทั่ง การสร้างความเข้าใจให้ตรงกันล้วนแต่เป็นวิธีการและเครื่องมือเพื่อการจัดการหรือการควบคุมจราจรอันเป็นระบบที่นำไปสู่ ความปลอดภัยและรวดเร็วของการจราจรทุกด้านทั้งสิ้นและการจราจรทางอากาศซึ่งมีแผ่นฟ้ากว้างใหญ่ประดุจถนนบนอากาศ ก็ไม่อยู่ในข้อยกเว้นทั้งยังกล่าวได้ว่ามีความจำเป็นในระดับที่จะขาดไม่ได้เช่นเดียวกับการควบคุมจราจรในการคมนาคมประเภทอื่นๆ

ด้วยเหตุที่การบินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งจะมีเพียงเส้นตรงเดียวเท่านั้นที่เป็นระยะใกล้ที่สุดหากมีอากาศยานมากกว่าหนึ่งลำขึ้นไป ใช้เส้นทางในการเดินทางไปยังจุดต่างๆหากทำการบินโดยไม่มีการจัดการก็จะมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุทางอากาศได้ขณะที่ใช้ห้วงอากาศ มีความต้องการระดับเพดานบินเดียวกันมีกำหนดเวลาบินเดียวกันการควบคุมและจัดการให้อากาศยานให้อากาศยานทุกลำ เกิดความปลอดภัยได้นั้นต้องอาศัยบุคคลและอุปกรณ์สื่อสารภาคพื้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยดำเนินการอย่างเป็นระบบซึ่งเรียกว่า การบริการควบคุมทางอากาศ (Air Traffic Control Service)

การควบคุมจราจรทางอากาศเป็นวิชาแขนงใหม่ที่มีความสำคัญยิ่งในบรรดาศาสตร์และศิลป์ของการบินในยุคปัจจุบัน เมื่อสมัย ที่การบินยังไม่เจริญนั้น การจราจรทางอากาศก็มีน้อย การควบคุมการจรจรทางอากาศจึงไม่สำคัญและจำเป็นนัก เครื่องมือเครื่อง ใช้สำหรับการบริการควบคุมการจราจรทางอากาศในสมัยนั้นก็มีเพียง ธงเขียว ธงแดง และผ้าขาวที่มีรูปอักษร “T” เพื่อเป็นสัญญาณ บอกทิศทางให้อากาศยานขึ้น-ลงก่อนปูผ้าสัญญาณ เพียงแต่ยกธงชูขึ้นบนศีรษะ ก็จะทราบได้ว่าลมพัดไปทางทิศใด แล้วจึงปูผ้าสัญญาณ บอกทิศทางให้อากาศยานขึ้น-ลงได้ การบินในสมัยดังกล่าวนี้มักจะกระทำเฉพาะในเวลากลางวันและในเวลาที่อากาศดีเท่านั้น ต่อมาเมื่อ การบินได้วิวัฒนาการยิ่งขึ้น การควบคุมจราจรทางอากาศจึงมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการบินทหารและพลเรือน ซึ่งการบินในสมัย ก้าวหน้านี้ ได้กระทำกันตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน และทุกลักษณะอากาศ ไม่ว่าจะฝนตก ลมแรง หรือมีเมฆหมอกก็ตาม โดยเฉพาะในด้านการบินพลเรือนนั่น ประเทศต่างๆได้เปิดสายการบินให้บริการขนส่งทางอากาศทั้งภายในและภายนอกประเทศ ฉะนั้นการควบคุมจราจรทางอากาศจึงต้องกระทำด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามแบบมาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อให้การจราจรทางอากาศ ดำเนินไปด้วยความปลอกภัยรวดเร็วและเป็นระเบียบเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมจราจรทางอากาศจึงต้องมีความรู้ความสามารถและจัดเจนในหน้าที่ เพื่ออำนวยการควบคุมจราจรทางอากาศให้แก่อากาศยานได้อย่างเพียงพอ นับแต่อากาศยานเริ่มทำการบินจนถึงท่าอากาศยานปลายทาง

บริการควบคุมจราจรทางอากาศเป็นงานส่วนหนึ่งในสามงานของงานจราจรทางอากาศ (Air Traffic Service) รัฐบาลได้ มอบหมายให้บริษัทฯเป็นผู้ดำเนินงานเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ.2492 อันสืบเนื่องมาจากการจัดตั้งและแบ่งอาณาเขตแถลงข่าวการบิน (Flight Information Region) ของแต่ละประเทศ ในการประชุม ICAO 1st Southeast Asia Regional Air Navigation Meeting, New Delhi,1948 โดยมีงานด้านเส้นทางบิน (En-Epute) ส่วนงานด้านบริการสนามบิน (Terminal) ที่จัดการจราจร ทางอากาศโดยรอบๆ แต่ละสนามบินยังเป็นงานของกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม และกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ ในขณะนั้น ซึ่งต่อมาได้โอนความรับผิดชอบมาให้บริษัทฯทั้งหมด

นอกจากนั้นยังมี งานแถลงข่าวการบิน (Flight Information Service) อันเป็นงานที่มีหน้าที่ให้คำแนะนำ และให้ข่าวสาร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัยในการบินและให้การบินลุล่วงไปอย่างมีผลกับงานอีกสองด้านคืองานเตือนภัยการบิน (Alerting Service) กับงานด้านค้นหาและช่วยเหลือ (Search and Rescue) อันเป็นงานที่มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วย งานที่เหมาะสมในกรณีที่อากาศยานต้องการความช่วยเหลือ

งานบริการควบคุมจราจรทางอากาศนับได้ว่าเป็นงานที่สำคัญแลจำเป็นที่สุดในการจัดการให้อากาศยานลำหนึ่ง เริ่มทำการบินจนกระทั่งบินถึงท่าอากาศยานปลายทางได้เพราะเป็นงานเพื่อการป้องกันไม่ให้อากาศยานชนกันเอง รวมถึงการป้องกันไม่ให้อากาศยานชนกับสิ่งกีดขวางทั้งในพื้นที่ปฏิบัติการและสิ่งกีดขวางอื่นในขณะทำการบิน เช่น บอลลูน ภูเขา รถที่แล่นไปมาในพื้นที่ที่เป็นลานจอดหรือทางวิ่งเป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้การจราจรทางอากาศ เกิดความคล่องตัวและเป็นระเบียบอีกด้วย

งานควบคุมการจราจรทางอากาศตามแบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบันแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ชนิด โดยจำแนก ตามบริเวณที่ควบคุมคือ

การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน
( Aerodrome Control Service )

การควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน
( Approach Control Service )

การควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน
( Area Control Service )

รวบรวมโดย อ.ประพนธ์