article

ทิศทาง (Direction)

ทิศทาง พจนานุกรม หมายถึง ทางที่มุ่งไป ตามหลักการเดินอากาศ ทิศทาง (Direction) คือ ตำแหน่งของจุดๆหนึ่ง ที่สัมพันธ์กับอีกจุดหนึ่ง ทางด้านระดับ (HORIZON) จำนวนทิศทางด้านระดับ (HORIZON)แบ่งเป็น 360° โดยเริ่มจากทิศเหนือเป็น 0° นับไปทางขวาตามเข็มนาฬิกาแล้วกลับมาทิศเหนือ ทิศตะวันออกคือ 90° ทิศใต้คือ 180° ทิศตะวันตกคือ 270° และทิศเหนือคือ 0° หลักในการกำหนดทิศทางมีดังนี้ ทิศเหนือจริง (TRUE NORTH) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เหนือภูมิศาสตร์ (GEOGRAPHIC NORTH) ทิศเหนือจริงนี้เป็นทิศที่สมมุติขึ้นเพื่อเป็นหลักในการวัดทิศทาง จะอยู่ที่ 0°   ทิศเหนือแม่เหล็ก (MAGNETIC NORTH) กำหนดโดยขั้วแม่เหล็กโลก เนื่องจากขั้วเหนือแม่เหล็กโลกไม่ทับเป็นจุดเดียวกับ ทิศเหนือจริง (TRUE NORTH) หรือทิศเหนือภูมิศาสตร์ (GEOGRAPHIC NORTH )จึงทำให้ทิศเหนือแม่เหล็ก และทิศเหนือจริงไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตามทิศเหนือแม่เหล็กยังจัดให้เป็นหลักในการวัดทิศทางด้วย ซึ่งขั้วเหนือแม่เหล็กจะอยู่ที่ 73° N […]

ทิศทาง (Direction) Read More »

ขั้นตอนการควบคุมจราจรทางอากาศ และการทำงานของ ATC

การนำเครื่องบินออกจากสนามบิน เมื่อต้องการนำเครื่องบินออกจากสนามบิน นักบินต้องทำแผนการบิน หรือที่เรียกกันว่า Flight Plan ส่งให้กับ ATC ได้รับทราบ ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญได้แก่ เครื่องบินรุ่นอะไร มีอุปกรณ์ประจำเครื่องอะไรบ้าง สนามบินปลายทางที่ใด สนามบินสำรอง กรณีเครื่องลงสนามบินปลายทางไม่ได้ เชื้อเพลิงในเครื่องสามารถบินได้นานเท่าไร เส้นทางบินที่จะไป ความเร็ว เพดานบินที่ต้องการ (ความสูงที่นักบินขอมาจะเป็นความสูงที่เครื่องบินสามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้มากที่สุด แต่บางครั้ง ATC ไม่สามารถให้ความสูงตามที่ขอได้ เนื่องจากมีการจราจรที่คับคั่ง) เวลาที่คาดว่าจะวิ่งขึ้น เวลาที่คาดว่าจะไปถึง รวมถึงเวลาที่จะผ่านเข้าไปยังเขตประเทศต่างๆ (หากเป็นการบินระหว่างประเทศ) และข้อมูลสำคัญอีกมากมาย เมื่อ ATC ได้รับข้อมูลทั้งหมดแล้ว ก็จะตรวจสอบสภาพอากาศและทบทวนแผนการบินอีกครั้ง ก่อนจะพิมพ์ข้อมูลลงในแถบกระดาษรายงานความคืบหน้าของเที่ยวบินที่เรียกว่า Flight Progress Strip แถบกระดาษนี้จะใช้ในการติดตามดูแลเครื่องบินไปตลอดเส้นทาง โดยจะมีการ Update ข้อมูลอยู่ตลอดเวลาหลังจากนักบินได้รับอนุญาตให้นำเครื่องออกได้ แถบรายงานการบินจะถูกส่งต่อไปยัง Ground Controller หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมภาคพื้นดิน นักบินจะต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่หอบังคับการบิน เพื่อขอติดเครื่องยนต์ และขอ Push Back (การดันเครื่องถอยหลัง กรณีจอดเทียบอาคารผู้โดยสาร) เมื่อเครื่องพร้อม ก็จะติดต่อ Ground

ขั้นตอนการควบคุมจราจรทางอากาศ และการทำงานของ ATC Read More »

การจัดการควบคุมจราจรทางอากาศ

การเดินทางทางอากาศหัวใจสำคัญของการเดินทางคือการไปถึงจุดหมายด้วยความปลอดภัยและรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญยิ่งประการหนึ่งซึ่งนอกเหนือไปจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีของยานพาหนะชนิดต่างๆ ตลอดจนการเพิ่มเส้นทางหรือห้วงอากาศสำหรับสัญจรก็คือ การจัดการหรือควบคุมจราจรนั่นเอง การบัญญัติกฎหมาย กำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติการจำแนกอำนาจหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจราจรหรือแม้กระทั่ง การสร้างความเข้าใจให้ตรงกันล้วนแต่เป็นวิธีการและเครื่องมือเพื่อการจัดการหรือการควบคุมจราจรอันเป็นระบบที่นำไปสู่ ความปลอดภัยและรวดเร็วของการจราจรทุกด้านทั้งสิ้นและการจราจรทางอากาศซึ่งมีแผ่นฟ้ากว้างใหญ่ประดุจถนนบนอากาศ ก็ไม่อยู่ในข้อยกเว้นทั้งยังกล่าวได้ว่ามีความจำเป็นในระดับที่จะขาดไม่ได้เช่นเดียวกับการควบคุมจราจรในการคมนาคมประเภทอื่นๆ ด้วยเหตุที่การบินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งจะมีเพียงเส้นตรงเดียวเท่านั้นที่เป็นระยะใกล้ที่สุดหากมีอากาศยานมากกว่าหนึ่งลำขึ้นไป ใช้เส้นทางในการเดินทางไปยังจุดต่างๆหากทำการบินโดยไม่มีการจัดการก็จะมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุทางอากาศได้ขณะที่ใช้ห้วงอากาศ มีความต้องการระดับเพดานบินเดียวกันมีกำหนดเวลาบินเดียวกันการควบคุมและจัดการให้อากาศยานให้อากาศยานทุกลำ เกิดความปลอดภัยได้นั้นต้องอาศัยบุคคลและอุปกรณ์สื่อสารภาคพื้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยดำเนินการอย่างเป็นระบบซึ่งเรียกว่า การบริการควบคุมทางอากาศ (Air Traffic Control Service) การควบคุมจราจรทางอากาศเป็นวิชาแขนงใหม่ที่มีความสำคัญยิ่งในบรรดาศาสตร์และศิลป์ของการบินในยุคปัจจุบัน เมื่อสมัย ที่การบินยังไม่เจริญนั้น การจราจรทางอากาศก็มีน้อย การควบคุมการจรจรทางอากาศจึงไม่สำคัญและจำเป็นนัก เครื่องมือเครื่อง ใช้สำหรับการบริการควบคุมการจราจรทางอากาศในสมัยนั้นก็มีเพียง ธงเขียว ธงแดง และผ้าขาวที่มีรูปอักษร “T” เพื่อเป็นสัญญาณ บอกทิศทางให้อากาศยานขึ้น-ลงก่อนปูผ้าสัญญาณ เพียงแต่ยกธงชูขึ้นบนศีรษะ ก็จะทราบได้ว่าลมพัดไปทางทิศใด แล้วจึงปูผ้าสัญญาณ บอกทิศทางให้อากาศยานขึ้น-ลงได้ การบินในสมัยดังกล่าวนี้มักจะกระทำเฉพาะในเวลากลางวันและในเวลาที่อากาศดีเท่านั้น ต่อมาเมื่อ การบินได้วิวัฒนาการยิ่งขึ้น การควบคุมจราจรทางอากาศจึงมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการบินทหารและพลเรือน ซึ่งการบินในสมัย ก้าวหน้านี้ ได้กระทำกันตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน และทุกลักษณะอากาศ ไม่ว่าจะฝนตก ลมแรง หรือมีเมฆหมอกก็ตาม โดยเฉพาะในด้านการบินพลเรือนนั่น ประเทศต่างๆได้เปิดสายการบินให้บริการขนส่งทางอากาศทั้งภายในและภายนอกประเทศ ฉะนั้นการควบคุมจราจรทางอากาศจึงต้องกระทำด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามแบบมาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อให้การจราจรทางอากาศ ดำเนินไปด้วยความปลอกภัยรวดเร็วและเป็นระเบียบเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมจราจรทางอากาศจึงต้องมีความรู้ความสามารถและจัดเจนในหน้าที่ เพื่ออำนวยการควบคุมจราจรทางอากาศให้แก่อากาศยานได้อย่างเพียงพอ นับแต่อากาศยานเริ่มทำการบินจนถึงท่าอากาศยานปลายทาง บริการควบคุมจราจรทางอากาศเป็นงานส่วนหนึ่งในสามงานของงานจราจรทางอากาศ (Air

การจัดการควบคุมจราจรทางอากาศ Read More »

การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน (Aerodrome Control Service)

การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน จะให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ณ บริเวณท่าอากาศ โดยแต่ละท่าอากาศยานจะทำการควบคุมจราจรทางอากาศครอบคลุมรัศมี 5 – 10 ไมล์ทะเลโดยรอบท่าอากาศยาน ที่ความสูงตั้งแต่พื้นดินถึง 2,000 ฟุต โดยเฉลี่ย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการควบคุมจราจรทางอากาศ ให้กับอากาศยานบนทางวิ่ง ทางขับ ลานจอด ในพื้นที่รับผิดชอบบริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน โดยผู้ควบคุมจราจรทางอากาศจะปฏิบัติงานอยู่บนหอบังคับการบิน และมีงานที่รับผิดชอบดังนี้ คือ Ground Control : สามารถแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบได้ดังนี้ รับผิดชอบการควบคุมจราจรทางอากาศของอากาศยานบนทางขับ และลานจอดให้ขับเคลื่อนด้วยความปลอดภัย เป็นระเบียบ และรวดเร็ว ให้คำอนุญาตการขับเคลื่อนของอากาศยาน และพาหนะอื่นๆ บนทางขับ/ลานจอด แจ้งข่าวสารข้อมูลแก่นักบิน และหน่วยสนับสนุนภาคพื้นดินหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการอำนวยความสะดวกให้แก่อากาศยานที่มาใช้บริการ Local Control หรือ Tower Control : สามารถแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบได้ดังนี้ รับผิดชอบการควบคุมจราจรทางอากาศบนทางวิ่งและอากาศยานโดยรอบท่าอากาศยานหรือตามพื้นที่ที่กำหนดในเขตจราจรโดยรอบ ท่าอากาศยาน กำหนดทางวิ่งขึ้น-ลง ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ (สวนทางกับทิศทางลม) ติดต่อประสานงานกับ Approach Control ในการจัดลำดับให้แก่อากาศยานเข้า-ออก แจ้งเตือนนักบินให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดการบิน โดยขณะนี้ บริษัทฯได้ให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน

การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน (Aerodrome Control Service) Read More »

การควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน (Area Control Service)

รับผิดชอบควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบินทั่วอาณาเขตของประเทศไทย ( Bangkok FIR ) โดยมี ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศ ตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ (ทุ่งมหาเมฆ) สามารถแบ่งการควบคุมได้เป็น 8 ส่วน (Sectors) คือ Sector 1 บริเวณภาคใต้ตอนบนของประเทศ Sector 2 บริเวณภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศ Sector 3 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ Sector 4 บริเวณภาคตะวันตก และ ภาคเหนือตอนล่างของประเทศ Sector 5 บริเวณภาคใต้ตอนล่างฝั่งตะวันตกของประเทศ Sector 6 บริเวณภาคใต้ตอนล่างฝั่งตะวันออกของประเทศ Sector 7 บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศ Sector 8 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศ   รวบรวมโดย อ.ประพนธ์

การควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน (Area Control Service) Read More »

การควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน

การควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน(Approach Control Service) ความสูงตั้งแต่ 2,000 – 11,000 ฟุต ยกเว้นการควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานกรุงเทพ จะขยายรัศมีทำการออกไปประมาณ 50 ไมล์ทะเลโดยรอบท่าอากาศยาน ณ ที่ความสูงตั้งแต่พื้นดินถึง 16,000 ฟุต เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการทำงาน เนื่องจากเป็นเขตที่มีจำนวนเที่ยวบินหนาแน่นที่สุด และเพื่อเป็นการลดขั้นตอนการทำงาน ให้สามารถส่งมอบความรับผิดชอบระหว่างท่าอากาศยานกรุงเทพ กับท่าอากาศยานใกล้เคียง เช่น อู่ตะเภา และกำแพงแสนได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการควบคุมของ Area Control การควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน สามารถแบ่งการควบคุมออกเป็น 2 ลักษณะคือ ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศกรุงเทพ ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ ( ทุ่งมหาเมฆ ) : แบ่งความรับผิดชอบ ในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน ออกเป็น 4 เขตดังนี้ เขตเชียงราย (Chiang Rai Sector) รับผิดชอบควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยานของท่าอากาศยานเชียงราย น่าน แพร่

การควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน Read More »

แผนที่ (MAP)

แผนที่ เป็นแผ่นภาพที่แสดงพื้นที่ อาณาเขต ลักษณะ ภูมิประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ในด้านการบินแผนที่ที่ใช้ควรมีลักษณะดังนี้ รูปร่างเหมือนจริง (CONFORMALITY) มาตราส่วนคงที่ (CONSTANT SCALE) พื้นที่เท่า (EQUAL AREA) เส้นวงใหญ่เป็นเส้นตรง (GREAT CIRCLE AS STRAIGHT LINES) เส้นเกลียวเป็นเส้นตรง (RHUMB LINES AS STRAIGHT LINES) ทิศจริง (TRUE AZIMUTH) หาพิกัดได้ง่าย (COORDINATE EASY TO LOCATED) รูปร่างเสมือนจริง (CONFORMALITY) เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของแผนที่ การจำลองแผนที่ไม่ว่าชนิดใดก็ตามต้องการให้เสมือนจริงมากที่สุด ซึ่งคุณสมบัติดังล่าวจะครอบคลุม คุณสมบัติอื่นๆไปด้วย แผนที่ที่มีคุณสมบัติของรูปร่างเหมือนจริง จึงมีลักษณะ 3 ประการ ดังนี้1. มาตราส่วนที่จุดใดจุดหนึ่งบนแผนที่ จะต้องเท่ากันในทุกทิศทาง 2.ในบริเวณเล็กๆโครงร่างของพื้นที่จะต้องเหมือนกับภูมิประเทศจริง3.เส้นรุ้งกับเส้นแวงบนพื้นที่ต้องตัดกันเป็นมุมฉาก ซึ่งจำเป็นสำหรับการพล๊อตจุดต่างๆ โดยใช้พิกัดภูมิศาสตร์ มาตราส่วนคงที่ (CONSTANT SCALE) หมายความว่ามาตราส่วน ณ

แผนที่ (MAP) Read More »

เวลา (TIME)

ความหมายของเวลาตามพจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้คำนิยามของเวลาว่า “ชั่วขณะ ความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยกำหนดขึ้นเป็น ครู่ คราว วัน เดือน ปี เป็นต้น” จากคำนิยามจึงอาจแบ่งเวลาเป็นสองลักษณะคือ ปริมาณหรือจำนวน (AN ELAPSED INTERVAL) กับชั่วขณะหนึ่งหรือ ณ ขณะนั้น (THE HOUR OF THE DAY) ฉะนั้นเวลาจึงเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของจักรวาล โลก มนุษย์ สัตว์ ตลอดจนสิ่งมีชีวิต และสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ซึ่งดำเนินไปตลอดเวลา เหมือนกับน้ำที่ไหลไปตามทางไม่มีโอกาสที่จะไหลกลับมาที่เดิมได้เลย เวลาก็เช่นเดียวกัน จะเปลี่ยนไปตลอดเวลาจะกลับมาเวลาเดิมอีกไม่ได้ ในด้านการบินแล้วเวลามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกัน เช่น ความเร็วของเครื่องบิน ซึ่งต้องเทียบกับเวลาและการบินให้ถึงที่หมายตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น ในอดีตประมาณ 2000 ปี ก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียน ใช้ระบบเลขฐานหกสิบ เป็นหลักในการวัดเวลา เช่น 60 วินาทีเท่ากับ 1 นาที, 60นาทีเท่ากับ

เวลา (TIME) Read More »

VARIATION

VARIATION (VAR) คือมุุมที่ต่างกัน ระหว่างทิศเหนือจริง(TRUE NORTH:TN)กับทิศเหนือแม่เหล็ก(MAGNETIC NORTH:MN) ทั้งนี่ก็เนื่องจากว่า ณ ตำบลใดตำบลหนึ่งบนพื้นโลก ขั้วเหนือแม่เหล็กโลกอยู่ที่ 73° N 100° W และขั้วใต้แม่เหล็กอยู่ที่ 68° S 144° E ซึ่งเข็มทิศแม่เหล็กจะชี้เข้าหาขั้วเหนือแม่เหล็กโลกอยู่เสมอ เหตุนี้เองจึงทำให้เกิด VARIATION ในบางตำแหน่งบนพื้นโลก ค่าของ VAR กำหนดเป็นองศา ซึ่งจะพิมพ์ไว้บนแผนที่ โดยจะมีค่าของ VAR เป็นตะวันออก หรือตะวันตก ขึ้นอยู่กับว่า VAR อยู่ทางตะวันออก หรือตะวันตก ของ TRUE NORTH:TN ถ้า VAR เป็น EAST (+) MAGNETIC NORTH :MN จะอยู่ทางทิศตะวันออกของ TRUE NORTH:TN และถ้า VAR เป็น WEST (-) MAGNETIC

VARIATION Read More »

DEVIATION

DEVIATION (DEV) คือมุมที่ต่างกันระหว่างทิศเหนือแม่เหล็ก (MAGNETIC NORTH:MN) กับทิศเหนือเข็มทิศ (COMPASS NORTH) ตามความเป็นจริงแล้ว เข็มทิศจะต้องชี้เข้าหาขั้วโลกเหนือแม่เหล็กโลกเสมอ แต่เนื่องจาก อิทธิพลของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากวัสดุที่เป็นโครงสร้างของเครื่องบิน และองค์ประกอบไฟฟ้าภายในเครื่องบิน จึงทำให้เข็มทิศชี้ผิดไปจากขั้วเหนือแม่เหล็กโลก ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า DEVIATION (DEV) ค่าของ DEV วัดเป็นองศาถ้าเข็มทิศชี้ทิศเหนือโลกผิดพลาดไปทางทิศตะวันออกจะกำหนดค่า DEV เป็นบวก (+) และถ้าเข็มทิศชี้ผิดพลาดไปทางทิศตะวันตก จะกำหนดค่า DEV เป็นลบ (-) ค่าของ DEV ในเครื่องบิน เครื่องหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ถ้าอิทธิพลของอำนาจแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงไป เช่น ความเข้มของแม่เหล็กโลก สถานที่เปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้ จึงต้องหมั่นทำการตรวจสอบค่าของ DEV เสมอ ตามระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า COMPASS SWING ตัวแก้สำหรับค่าของ DEV (DEVIATION CORRERTION) จะมีเครื่องหมายเป็น บวก (+) หรือ ลบ (-) กล่าวคือถ้า

DEVIATION Read More »