บทความ

ทิศทาง (Direction)

ทิศทาง พจนานุกรม หมายถึง ทางที่มุ่งไป ตามหลักการเดินอากาศ ทิศทาง (Direction) คือ ตำแหน่งของจุดๆหนึ่ง ที่สัมพันธ์กับอีกจุดหนึ่ง ทางด้านระดับ (HORIZON)จำนวนทิศทางด้านระดับ (HORIZON)แบ่งเป็น 360° โดยเริ่มจากทิศเหนือเป็น 0° นับไปทางขวาตามเข็มนาฬิกาแล้วกลับมาทิศเหนือทิศตะวันออกคือ 90° ทิศใต้คือ 180° ...

ขั้นตอนการควบคุมจราจรทางอากาศ และการทำงานของ ATC

การนำเครื่องบินออกจากสนามบินเมื่อต้องการนำเครื่องบินออกจากสนามบิน นักบินต้องทำแผนการบิน หรือที่เรียกกันว่า Flight Plan ส่งให้กับ ATC ได้รับทราบ ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญได้แก่ เครื่องบินรุ่นอะไร มีอุปกรณ์ประจำเครื่องอะไรบ้าง สนามบินปลายทางที่ใด สนามบินสำรอง กรณีเครื่องลงสนามบินปลายทางไม่ได้ เชื้อเพลิงในเครื่องสามารถบินได้นานเท่าไร เส้นทางบินที่จะไป ความเร็ว เพดานบินที่ต้องการ (ความสูงที่นักบินขอมาจะเป็นความสูงที่เครื่องบินสามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้มากที่สุด แต่บางครั้ง ...

การจัดการควบคุมจราจรทางอากาศ

การเดินทางทางอากาศหัวใจสำคัญของการเดินทางคือการไปถึงจุดหมายด้วยความปลอดภัยและรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญยิ่งประการหนึ่งซึ่งนอกเหนือไปจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีของยานพาหนะชนิดต่างๆ ตลอดจนการเพิ่มเส้นทางหรือห้วงอากาศสำหรับสัญจรก็คือ การจัดการหรือควบคุมจราจรนั่นเอง การบัญญัติกฎหมาย กำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติการจำแนกอำนาจหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจราจรหรือแม้กระทั่ง การสร้างความเข้าใจให้ตรงกันล้วนแต่เป็นวิธีการและเครื่องมือเพื่อการจัดการหรือการควบคุมจราจรอันเป็นระบบที่นำไปสู่ ความปลอดภัยและรวดเร็วของการจราจรทุกด้านทั้งสิ้นและการจราจรทางอากาศซึ่งมีแผ่นฟ้ากว้างใหญ่ประดุจถนนบนอากาศ ก็ไม่อยู่ในข้อยกเว้นทั้งยังกล่าวได้ว่ามีความจำเป็นในระดับที่จะขาดไม่ได้เช่นเดียวกับการควบคุมจราจรในการคมนาคมประเภทอื่นๆ ด้วยเหตุที่การบินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งจะมีเพียงเส้นตรงเดียวเท่านั้นที่เป็นระยะใกล้ที่สุดหากมีอากาศยานมากกว่าหนึ่งลำขึ้นไป ใช้เส้นทางในการเดินทางไปยังจุดต่างๆหากทำการบินโดยไม่มีการจัดการก็จะมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุทางอากาศได้ขณะที่ใช้ห้วงอากาศ มีความต้องการระดับเพดานบินเดียวกันมีกำหนดเวลาบินเดียวกันการควบคุมและจัดการให้อากาศยานให้อากาศยานทุกลำ เกิดความปลอดภัยได้นั้นต้องอาศัยบุคคลและอุปกรณ์สื่อสารภาคพื้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยดำเนินการอย่างเป็นระบบซึ่งเรียกว่า การบริการควบคุมทางอากาศ (Air Traffic Control Service) การควบคุมจราจรทางอากาศเป็นวิชาแขนงใหม่ที่มีความสำคัญยิ่งในบรรดาศาสตร์และศิลป์ของการบินในยุคปัจจุบัน เมื่อสมัย ...

การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน (Aerodrome Control Service)

การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน จะให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ณ บริเวณท่าอากาศ โดยแต่ละท่าอากาศยานจะทำการควบคุมจราจรทางอากาศครอบคลุมรัศมี 5 - 10 ไมล์ทะเลโดยรอบท่าอากาศยาน ที่ความสูงตั้งแต่พื้นดินถึง 2,000 ฟุต โดยเฉลี่ย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการควบคุมจราจรทางอากาศ ให้กับอากาศยานบนทางวิ่ง ทางขับ ลานจอด ในพื้นที่รับผิดชอบบริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน โดยผู้ควบคุมจราจรทางอากาศจะปฏิบัติงานอยู่บนหอบังคับการบิน ...

การควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน (Area Control Service)

รับผิดชอบควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบินทั่วอาณาเขตของประเทศไทย( Bangkok FIR ) โดยมี ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศ ตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ (ทุ่งมหาเมฆ) สามารถแบ่งการควบคุมได้เป็น 8 ส่วน (Sectors) คือ Sector 1 บริเวณภาคใต้ตอนบนของประเทศSector 2 บริเวณภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศSector ...

การควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน

การควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน(Approach Control Service)ความสูงตั้งแต่ 2,000 - 11,000 ฟุต ยกเว้นการควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานกรุงเทพ จะขยายรัศมีทำการออกไปประมาณ 50 ไมล์ทะเลโดยรอบท่าอากาศยาน ณ ที่ความสูงตั้งแต่พื้นดินถึง 16,000 ฟุต เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการทำงาน เนื่องจากเป็นเขตที่มีจำนวนเที่ยวบินหนาแน่นที่สุด ...

แผนที่ (MAP)

แผนที่ เป็นแผ่นภาพที่แสดงพื้นที่ อาณาเขต ลักษณะ ภูมิประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ในด้านการบินแผนที่ที่ใช้ควรมีลักษณะดังนี้รูปร่างเหมือนจริง (CONFORMALITY)มาตราส่วนคงที่ (CONSTANT SCALE)พื้นที่เท่า (EQUAL AREA)เส้นวงใหญ่เป็นเส้นตรง (GREAT CIRCLE AS STRAIGHT LINES)เส้นเกลียวเป็นเส้นตรง (RHUMB LINES AS ...

เวลา (TIME)

ความหมายของเวลาตามพจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้คำนิยามของเวลาว่า “ชั่วขณะ ความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยกำหนดขึ้นเป็น ครู่ คราว วัน เดือน ปี เป็นต้น” จากคำนิยามจึงอาจแบ่งเวลาเป็นสองลักษณะคือ ปริมาณหรือจำนวน (AN ELAPSED INTERVAL) กับชั่วขณะหนึ่งหรือ ...

VARIATION

VARIATION (VAR) คือมุุมที่ต่างกัน ระหว่างทิศเหนือจริง(TRUE NORTH:TN)กับทิศเหนือแม่เหล็ก(MAGNETIC NORTH:MN) ทั้งนี่ก็เนื่องจากว่า ณ ตำบลใดตำบลหนึ่งบนพื้นโลก ขั้วเหนือแม่เหล็กโลกอยู่ที่ 73° N 100° W และขั้วใต้แม่เหล็กอยู่ที่ 68° S 144° E ซึ่งเข็มทิศแม่เหล็กจะชี้เข้าหาขั้วเหนือแม่เหล็กโลกอยู่เสมอ ...

DEVIATION

DEVIATION (DEV) คือมุมที่ต่างกันระหว่างทิศเหนือแม่เหล็ก (MAGNETIC NORTH:MN) กับทิศเหนือเข็มทิศ (COMPASS NORTH) ตามความเป็นจริงแล้ว เข็มทิศจะต้องชี้เข้าหาขั้วโลกเหนือแม่เหล็กโลกเสมอ แต่เนื่องจาก อิทธิพลของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากวัสดุที่เป็นโครงสร้างของเครื่องบิน และองค์ประกอบไฟฟ้าภายในเครื่องบิน จึงทำให้เข็มทิศชี้ผิดไปจากขั้วเหนือแม่เหล็กโลก ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า DEVIATION (DEV) ค่าของ DEV วัดเป็นองศาถ้าเข็มทิศชี้ทิศเหนือโลกผิดพลาดไปทางทิศตะวันออกจะกำหนดค่า ...

ระยะทาง (DISTANCE)

การวัดระยะทางในการเดินอากาศ คือ ความยาวของเส้นที่ลากเชื่อมต่อจุด 2 จุดบนแผนที่ หน่วยที่ใช้วัดความยาวส่วนใหญ่จะใช้เป็น ไมล์ทะเล(NAUTICAL MILE : NM) จะเท่ากับความยาว อาร์ค (ARC) บนเส้นวงใหญ่ของโลก ที่มีค่าหนึ่งลิบดา (MINUTE) ซึ่งจะยาวประมาณ 6,080.20 ฟุต หรือ ...

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฝึกบินกับเครื่องฝึกบินจำลอง

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฝึกบินกับเครื่องบินจำลอง ก่อนเป็นนักบินฝึกหัดของนักศึกษาสถาบันการบิน ชั่วโมงบินในความหมายที่กล่าวถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งหมายถึงว่าบุคคลผู้นั้นมีประสบการณ์และความชำนาญในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดีตามจำนวนชั่วโมงบิน สำหรับนักบินชั่วโมงบินหมายถึงการได้ควบคุมอากาศยานในการปฏิบัติภารกิจในแต่ละเที่ยวบิน ซึ่งใช้เวลาตั้งแต่ไม่ถึง 1 ชั่วโมงจนถึงหลายๆ ชั่วโมง   ดังนั้นผู้ที่มีชั่วโมงบินสูงของนักบินจึงมีความหมายว่าเป็นผู้ที่มีความชำนาญและประสบการณ์ในการบินมาก เป็นผู้ได้พบปัญหาและการแก้ไขปัญหาต่างๆ มาก แต่ในการฝึกหรือการสร้างประสบการณ์ให้กับนักบิน “ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฝึกบิน” เป็นเรื่องที่หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการฝึกบิน เพราะการฝึกจะมีห้วงระยะเวลาที่กำหนด การลงทุน วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมดังนั้นการฝึกบินจำลองจึงเป็นการฝึกที่มีเหมาะสมสำหรับนักบินในยุคปัจจุบัน ประกอบกับอากาศยานได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในระบบควบคุมการบิน ...

แสงเงินแสงทอง (Twilight)

เราทุกคนคงเคยได้ยิน คำว่า แสงเงินแสงทอง และได้สัมผัสกันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะในตอนเช้าตรู่และตอนเย็น เมื่อดวงอาทิตย์ พร้อมที่จะขึ้นสู่ขอบฟ้า และหายลับไปในแต่ละวัน รู้สึกจะเป็นบรรยากาศที่สดชื่นเป็นอย่างยิ่ง ปรากฏการณ์แสงเงินแสงทองที่เกิดขึ้น เนื่องจากการฉายแสงของดวงอาทิตย์สะท้อนของดวงอาทิตย์จากไอน้ำและอณูเล็กๆ ซึ่งลอยอยู่ในบรรยากาศ ในขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังขึ้นและตกจากขอบฟ้าซึ่งแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้1.Civil Twilight คือ แสงเงินแสงทองที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ อยู่ต่ำจากขอบฟ้า 6° ...