ความหมายของเวลาตามพจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้คำนิยามของเวลาว่า “ชั่วขณะ ความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยกำหนดขึ้นเป็น ครู่ คราว วัน เดือน ปี เป็นต้น” จากคำนิยามจึงอาจแบ่งเวลาเป็นสองลักษณะคือ ปริมาณหรือจำนวน (AN ELAPSED INTERVAL) กับชั่วขณะหนึ่งหรือ ณ ขณะนั้น (THE HOUR OF THE DAY) ฉะนั้นเวลาจึงเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของจักรวาล โลก มนุษย์ สัตว์ ตลอดจนสิ่งมีชีวิต และสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ซึ่งดำเนินไปตลอดเวลา เหมือนกับน้ำที่ไหลไปตามทางไม่มีโอกาสที่จะไหลกลับมาที่เดิมได้เลย เวลาก็เช่นเดียวกัน จะเปลี่ยนไปตลอดเวลาจะกลับมาเวลาเดิมอีกไม่ได้ ในด้านการบินแล้วเวลามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกัน เช่น ความเร็วของเครื่องบิน ซึ่งต้องเทียบกับเวลาและการบินให้ถึงที่หมายตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น
ในอดีตประมาณ 2000 ปี ก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียน ใช้ระบบเลขฐานหกสิบ เป็นหลักในการวัดเวลา เช่น 60 วินาทีเท่ากับ 1 นาที, 60นาทีเท่ากับ 1 ชั่วโมง และ 12 ชั่วโมงเท่ากับ 1 กลางวัน และ 1 กลางคืน และ 24 ชั่วโมงเท่ากับ 1 วัน ซึ่งเราได้ใช้ระบบที่ชาวสุเมเรียนคิดไว้มาจนถึงปัจจุบันนี้ ช่วงเวลาดังกล่าว จึงกำหนดได้ดังนี้
เวลา ณ ขณะใดขณะหนึ่ง (THE HOUR OF THE DAY) นั้นกำหนดมาจากการหมุนของโลกรอบตัวเอง ในวันหนึ่งๆโดยเทียบกับดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงลงมาสู่โลก ณ ตำบลใดตำบลหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้เป็น 24 ชั่วโมง โดยกำหนดประมาณคราวๆว่าเป็น กลางวัน 12 ชั่วโมง กลางคืน 12 ชั่วโมง นั้นก็คือหมุนรอบตัวเอง 360 ̊ จะใช้เวลา 24 ชั่วโมง หรือโลกหมุนไป 15 องศา ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 1 องศาใช้เวลา 4 นาที และ 1 ลิปดาใช้เวลา 4 วินาที เป็นต้น
เวลามาตรฐานโลก (GREENWICH MEAN TIME, GMT) เป็นเวลามาตรฐานโลก ซึ่งกำหนดมาจากเวลาท้องถิ่นของเมือง GREENWICH ในประเทศอังกฤษ โดยกำหนดให้เส้น LONGITUDE ที่ผ่านเมืองนี้เรียกว่าเส้น PRIME MERIDIAN และกำหนดให้เป็นเส้น LONGITUDE 0 ̊ หรือ MERIDIAN 0 ̊
เพื่อให้การเดินอากาศไปยังที่ต่างๆนั้นมีเวลาเทียบมาจากที่เดียวกัน สะดวกในการบอกเวลาร่วมกันจึงใช้เวลา GMT เป็นหลักในการบิน บางครั้งเราเรียกเวลา GMT นี้ว่า ZULU TIME, ZEBRA TIME หรือ Z TIME
เส้น LONGITUDE ที่นับจาก PRIME MERIDIAN มาทางตะวันออกจะเป็น EAST LONGITUDE ไปสิ้นสุดที่ 180 ̊ E และถ้านับจาก PRIME MERIDIAN มาทางตะวันตกจะเป็น WEST LONGITUDE และจะไปสิ้นสุดที่ 180 ̊ W เช่นกัน ฉะนั้นเส้น LONGITUDE 180 ̊ E และ 180 ̊ W จึงเป็นเส้นเดียวกัน และกำหนดให้เป็นเส้นแบ่งวัน (INTERNATIONL DATE LINE)
ประเทศที่อยู่ใกล้เส้น LONGITUDE 180 ̊ E และ 180 ̊ W หรือ INTERNATIONL DATE LINE มากที่สุดคือ ประเทศ ญี่ปุ่น นั้นคือวันใหม่จะเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก ส่วนประเทศไทยตั้งอยู่ที่เส้น LONGITUDE ระหว่าง 98 ̊ E – 105 ̊ E และได้กำหนดให้เส้น LONGITUDE 105 ̊ E ซึ่งผ่านจังหวัดอุบลราชธานี กำหนดเป็นเวลาท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งจะกำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดด้วย เนื่องด้วย LONGITUDE ต่างกัน 15 ̊ เวลาจะต่างกัน 1 ชั่วโมง ฉะนั้นเวลาของประเทศไทยจึงต่างจากเวลาที่เมือง GREENWICH 7 ชั่วโมง หรือก่อน 7 ชั่วโมง
อ้างอิง AF MANUAL 51-40
ATC STUDENT STUDY GUIDE
NAVIGATION FOR PILOT TRAINING
การเดินอากาศ AIRNAVIGATION โรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ